
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDGs
เป้าหมายที่ 3:
เป้าหมายที่ 8:
เป้าหมายที่ 10:
เป้าหมายที่ 11:
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานที่ปราศจากการเกิดอุบัติเหตุ โดยได้ตั้งเป้าหมาย “อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์” หรือ “Zero Accident” เพื่อรณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ไม่เกิดอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดความบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานในทุกกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมด โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- จำนวนอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตของพนักงานเท่ากับ ศูนย์ ทุกปี
- อัตราการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานของพนักงานเป็น ศูนย์ ทุกปี
- ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน (LTIFR) น้อยกว่า 1.0 ภายในปี 2568

แนวทางการบริหารจัดการและการสร้างคุณค่า
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการด้านความปลอดภัย โดยการนำหลักการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยมาปรับใช้ในกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้
- ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และแนวปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัยทั้งที่ประกาศใช้ในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคต
- ประเมินความเสี่ยงกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การจัดเก็บสินค้า การใช้งานเครื่องจักร รถยกและอุปกรณ์ สารเคมี และระบบไฟฟ้า เป็นต้น
- กำหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม และการจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้ครบถ้วน เพียงพอและพร้อมใช้งานเสมอ โดยการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) ได้แก่ เข็มขัดพยุงหลัง รองเท้านิรภัย หมวกนิรภัย ถุงมือ และ เสื้อสะท้อนแสง ให้พนักงานทุกสาขาและกำหนดให้สวมใส่ขณะปฏิบัติงานทุกครั้ง
- การสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในองค์กร และส่งเสริมให้ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกด้านสุขภาพและความปลอดภัยให้กับพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางและกิจกรรม เช่น การอบรมให้ความรู้ กิจกรรมด้านความปลอดภัย สื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เป็นต้น
- การจัดทำแผนฉุกเฉินป้องกันและระงับอัคคีภัย และการซ้อมดับเพลิงและการหนีไฟประจำปี โดยกำหนดให้พนักงานทุกคนต้องเข้าร่วมการฝึกซ้อม

สถิติการเกิดอุบัติเหตุ
อัตราการเกิดอุบัติเหตุ | 2565 | 2566 | 2567 |
---|---|---|---|
จำนวนสาขา (รวมศูนย์กระจายสินค้า) | 78 | 84 | 91 |
จำนวนการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน | 104 | 106 | 77 |
อัตราเฉลี่ยการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อสาขา1 | 1.33 | 1.27 | 0.84 |
อัตราการบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมด | 5.12 | 4.69 | 3.57 |
อัตราการบาดเจ็บรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต)2 | 0 | 0 | 0 |
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost time Injury Frequency Rate: LTIFR)3 | |||
|
3.83 | 3.98 | 2.69 |
|
0.63 | 1.05 | 1.12 |
|
n/a | 4.57 | 0 |
โรคจากการทำงาน (Occupational Illness Frequency Rate: OIFR)4 | 0 | 0 | 0 |
การเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต (ราย) | |||
พนักงานบริษัท | |||
|
11 | 9 | 0 |
|
0 | 4 | 0 |
พนักงานพีซี | |||
|
3 | 2 | 0 |
|
1 | 1 | 0 |
ผู้รับเหมา | |||
|
n/a | n/a | 1 |
|
n/a | n/a | 0 |
หมายเหตุ:
- อัตราเฉลี่ยการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อสาขา = จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ/จำนวนสาขา
- อัตราบาดเจ็บรุนแรง(ไม่รวมเสียชีวิต) = จำนวนการเกิดอุบัติเหตุถึงขึ้นหยุดงานมากกว่า 180 วัน/จำนวนชั่วโมงการ ทำงานรวม X 1,000,000
- อัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน = จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ/จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม X 1,000,000
- จำนวนครั้ง/จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งหมด
ยกระดับอาชีวอนามัย สร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน
บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการงานด้านความปลอดภัย โดยมุ่งเน้นให้เป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุจากการทำงาน โรคจากการทำงาน และอุบัติเหตุจากท้องถนน ภายในปี 2568 บริษัทฯ จึงได้มีการจัดการ และดำเนินงานด้านความปลอดภัยให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักร และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดความปลอดภัยรวมถึงให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนัก และปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานทุกคน และให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการงานด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามแนวทางที่บริษัทฯ กำหนดโดยมีคณะทำงานด้านความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร ระดับหัวหน้างาน ระดับวิชาชีพและพนักงานทุกคนช่วยกันพัฒนาผลักดันให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทฯ กำหนดสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย และขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยฯ ของบริษัทฯ สู่การพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
ในปี 2567 บริษัทฯ ได้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงส่งเสริมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของพนักงานทุกคน