
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDGs
เป้าหมายที่ 5:
เป้าหมายที่ 10:
เป้าหมายที่ 16:
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2567
- อนุมัติกฎบัตรคณะกรรมการบริษัท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2567
- ปรับผังการบริหารงานของบริษัท โดยจัดตั้งหน่วยงานกำกับการปฏิบัติงาน (Compliance office) เพื่อความเหมาะสมในการดำเนินงาน
- จัดอบรมหลักสูตรจริยธรรมทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้แก่พนักงานทุกระดับผ่านระบบ E-Learning
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ปี 2567
- การเข้าร่วมโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2567 Corporate Governance Report: CG โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับผลการประเมินอยู่ในระดับ “ดีเลิศ” หรือ 5 ดาว ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4
- การประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 โดยได้รับการประเมินผล 100 คะแนนเต็ม อยู่ในเกณฑ์ “ดีเยี่ยมสมควรเป็นตัวอย่าง” ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมมาภิบาลที่คำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายรักษาผลการประเมินการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในระดับ “ดีเยี่ยมสมควรเป็นตัวอย่าง” ตลอดไป
- ร้อยละ 100.00 พนักงานทุกระดับได้รับการอบรมหลักสูตรจริยธรรมทางธุรกิจและ ข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน
ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ
ความมุ่งมั่น
บริษัทฯ มีเจตนารมณ์มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามแนวทางปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเล็งเห็นว่าปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างองค์กรให้มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสียและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ อันนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้กำหนดคู่มือการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติงาน

แนวทางการบริหารจัดการและการสร้างคุณค่า
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ ผลักดันให้การกำกับการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันเป็นส่วนหนึ่งของการ ทำงานปกติและยึดถือปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร และเพื่อส่งเสริมให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ได้สื่อสารผ่านการ อบรมพนักงานใหม่ ช่องทางการสื่อสารภายใน “Share Point” และหน้าเว็บไซต์ของบริษัท
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัท ภายใต้ค่านิยมองค์กร เพื่อเป็นแบบแผน ขอบเขต มาตรฐาน ความประพฤติ และพฤติกรรมที่ คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในทุกหน่วยงานพึงกระทำในการดำเนินธุรกิจและปฏิบัติงาน และเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันภายใต้กรอบจริยธรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์ อันเป็นการสร้างรากฐานและรักษาภาพพจน์ของบริษัท ให้เป็นองค์กรที่มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยบริษัทได้จัดทำจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร และเผยแพร่ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รับทราบ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทช่องทางการสื่อสารภายใน “Share Point”
ในปี 2567 ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท เห็นว่าจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทมีความทันสมัยและเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน และในปีที่ผ่านมาไม่พบการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท
รายงานการละเมิด
ขอบเขตการรายงาน | 2565 | 2566 | 2567 |
---|---|---|---|
การฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ | 0 | 0 | 0 |
การฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติในการทำงานของบริษัท | 0 | 0 | 0 |
การคอร์รัปชันหรือการติดสินบน (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 |
จำนวนพนักงานที่โดนไล่ออกจากการไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน (คน) | 0 | 0 | 0 |
จำนวนเงินค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน (บาท) | 0 | 0 | 0 |
การเลือกปฏิบัติหรือการคุกคาม (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 |
ข้อมูลส่วนตัวลูกค้า (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 |
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 |
การฟอกเงินหรือการซื้อขายหลักทรัพย์โดยการใช้ข้อมูลภายใน (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 |
การละเมิดสิทธิมนุษยชน | 0 | 0 | 0 |
จำนวนเงินเยียวยา กรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน (บาท) | 0 | 0 | 0 |
ตัวอย่างการดำเนินการแก้ไข รวมถึงมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ
จรรยาบรรณว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรณีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ลิขสิทธิ์ไม่ถูกต้อง
กํากับดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง
- กําหนดเงื่อนไขการใช้งานคอมพิวเตอร์ และการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ไม่ติดตั้งและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เดียวกันบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน
- เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น Opensource
การสื่อสารและสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน
- จัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
- จัดทำคู่มือและข้อควรระวังในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
- ใช้ทุกโอกาสเพื่อทำให้พนักงานเกิดความตระหนักให้เห็นความสำคัญและความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์
การติดตามและการตรวจสอบ
- ทำฐานประวัติการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์
- ตรวจสอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกจุดประจำทุกไตรมาส
- ผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณของบริษัทจะต้องได้รับโทษทางวินัยตามระเบียบบริษัท ที่กำหนดไว้และอาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและการบริหารจัดการกรณีทุจริต
บริษัทฯ ได้จัดทำช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียน เพื่อเป็นการสนับสนุนการรับข้อร้องเรียนหรือเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือ พฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมภายในองค์กรผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
ช่องทางการแจ้งเบาะแส | ผู้รับเรื่อง | |
---|---|---|
จดหมายธรรมดา | 232 หมู่ 19 ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 | สำนักงานตรวจสอบ |
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ | secretary@globalhouse.co.th | เลขานุการบริษัท |
เว็บไซต์บริษัท | https://globalhousenews.com/whistleblower-with-complaints/ | เลขานุการบริษัท |
โทรศัพท์ | Call Center 1160 | เลขานุการบริษัท |
กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสกระทำผิด
บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายใน
หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้ง
คณะกรรมการตรวจสอบฯและสำนักงานตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัท

การดำเนินการหลังจากมีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
- คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงดำเนินการพิจารณาตรวจสอบ ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงตามที่มีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน และให้นำเสนอเรื่อง ต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาลงโทษ หรือแก้ปัญหาดังกล่าว
- ระยะเวลาในการพิจารณาสอบสวนภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับการแจ้ง เบาะแส หรือข้อร้องเรียน
การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
- ผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ หรือกรณี แจ้งชื่อให้กับบริษัทฯ บริษัทฯ จะปกปิดและเก็บรักษาข้อมูลผู้แจ้งเบาะแสหรือ ข้อร้องเรียนไว้เป็นความลับ
- ผู้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสจะได้รับการพิจารณาด้วยความเป็นธรรม
- บริษัทฯ จะคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในกระบวนการสอบสวน ข้อร้องเรียน ไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง ย้ายหน้าที่การงาน หรือลงโทษแต่อย่างใด เว้นแต่การร้องเรียนจะเป็นไปด้วยเจตนาที่ไม่สุจริต
มาตรการเยียวยาและแก้ไข
ในกรณีที่พนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหาย บริษัทฯ ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อร้องเรียน โดยจะรีบแก้ไขข้อบกพรองหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยทันที รวมทั้งหามาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกและจะพิจารณาชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกละเมิดอย่างเหมาะสมตามเหตุและผลของเรื่องเป็นกรณีๆ ไป
บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยี เพื่อกำหนดหลักการและข้อบังคับในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งมุ่งสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูลที่สำคัญของบริษัทฯ รวมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความเสี่ยงของบริษัทฯ
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญด้านการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า พนักงาน บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายคุ้มคอรงข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) เพื่อแจ้งให้ทราบถึงนโยบายความเป็นส่วนตัว รายละเอียดการรวบรวมข้อมูล การใช้หรือเปิดเผย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) รวมถึงกำหนดระเบียบปฏิบัติ ในการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยมาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน จะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ทั้งนี้หากบริษัทฯ จะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ จะต้องได้รับความยินยอมก่อน และนำไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ดังนี้
- กำหนดให้มีโครงสร้างองค์กร รวมทั้งกำหนดบาทบาทความรับผิดชอบของหน่วยงานและผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน โดยบริษัทฯ ได้แต่งตั้งให้คณะจัดการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Committee)
- คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำหน้าที่กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลและการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการเหตุการณ์ผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (DPO) เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานในบริษัท ให้เป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท รายงานสถานการณ์คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบอย่างสม่ำเสมอ
- จัดอบรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกฎหมาย PDPA และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทให้กับพนักงานทุกระดับ
การดำเนินการหลังการเกิดผลกระทบต่อข้อมูล
บริษัทฯ มีขั้นตอนจัดการกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO) จะดำเนินการแจ้งฝ่ายInnovation & System Development เพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุที่มา ระบุจุดต้นเหตุของการรั่วไหลของข้อมูล และดำเนินการแก้ไข พร้อมทั้งรายงานผลต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล
สถิติความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
2565 | 2566 | 2567 | |
---|---|---|---|
จำนวนข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล - ลูกค้า | 0 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล - คู่ค้า | 0 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล - พนักงาน | 0 | 0 | 0 |
นโยบายการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นกรอบในการกำกับดูแลบริหารจัดการซึ่งครอบคลุมเรื่องการปกป้องข้อมูลทางการค้าและ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น แผนดำเนินงานสำหรับการกู้ระบบ (Disaster Recovery Plan) การกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดทำนโยบายการจัดการ ข้อมูลส่วนบุคคล การพัฒนาระบบและกระบวนการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและ ภัยคุกคามทางไซเบอร์แก่พนักงาน ผ่านช่องทางสื่อสารภายในอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง
นโยบายการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสถิติความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2565 | 2566 | 2567 | |
---|---|---|---|
จำนวนลูกค้าที่ถูกละเมิดกรณีข้อมูลรั่วไหล | 0 | 0 | 0 |
จำนวนพนักงานที่ถูกละเมิดกรณีข้อมูลรั่วไหล | 0 | 0 | 0 |
จำนวนทั้งหมดที่มีการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูล | 0 | 0 | 0 |
จำนวนลูกค้าและพนักงานทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิด | 0 | 0 | 0 |
จำนวนเงินที่ถูกปรับจากการละเมิดกรณีข้อมูลรั่วไหล | 0 (บาท) | 0 (บาท) | 0 (บาท) |
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการต่อต้านคอร์รัปชัน ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบบริษัทฯ ได้ประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC ) และได้กำหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
แนวทางบริหารจัดการ
- บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่สนับสนุน หรือยอมรับการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม
- กำหนดให้บริษัทย่อยและ บริษัทร่วมนำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันไปเป็นหลัก ปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ
- กำหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรมีการทบทวนและแก้ไข นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
- เผยแพร่นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทราบผ่านช่องทาง เว็บไซต์ของบริษัท ช่องทางการสื่อสารภายใน “Share Point” บอร์ด ประชาสัมพันธ์ทุกสาขา และแบบแสดงรายงานประจำปี
- จัดให้มีช่องทางการสื่อสารรับข้อร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชัน พร้อมทั้งมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน รวมถึงมีนโยบายจะไม่ลด ตำแหน่ง ลงโทษหรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชันแม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจผ่านช่องทาง อีเมลหรือ เว็บไซต์ของบริษัท พร้อมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแส
- บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม โดยจัดให้มีนโยบาย ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและแนวทางปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน รวมทั้งสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ทัศนคติ และปลูกฝังจนการเป็น วัฒนธรรมองค์กรที่จะส่งเสริมให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุก ระดับต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องตลอดจนไม่ สนับสนุนให้ สร้างความสำเร็จของงานด้วยวิธีการทุจริต
- บริษัทจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน

ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2567
- จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
- เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันโดยภาคธุรกิจของประเทศไทย
- ปรับปรุงแก้ไขนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเห็นผล
- ทำหนังสือเชิญชวนให้คู่ค้าในการเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่าย โครงการแนวร่วม ปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต CAC
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ปี 2567
- หน่วยงานตรวจสอบภายในได้สอบทานและประเมินความเสี่ยงจากกิจกรรมทาง ธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันและการควบคุมภายใน โดยในภาพรวมมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม
- ได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ในปีแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567
- ร้อยละ 100 พนักงานทุกระดับและคู่ค้าลำดับที่ 1 ได้รับการสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชัน
แนวทางการปฏิบัติ
บริษัทฯ มุ่งเน้นให้พนักงานและพนักงานแนะนำสินค้า (Product Consultant : PC) ทุกคนต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตคอร์รัปชันไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในและกระบวนการตรวจสอบในทุกด้านที่คำนึงถึงการ ควบคุมความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันรวมไปถึงการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมให้พนักงานและ PC ทุกคนได้รับการอบรมและเผยแพร่นโยบาย ดังกล่าวไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจโดยพนักงานและ PC ต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นผู้กระทำที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชันรวมทั้งกำหนดบทลงโทษ หากพนักงานหรือ PC ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว

การติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติและการแจ้งเบาะแสการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต้องรับทราบ ทำความเข้าใจในนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีและยึดถือเป็นแนวปฏิบัติงานเพื่อ ส่งเสริมให้บริษัทเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมีการบริหารงานและ กำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้บริษัทได้จัดช่องทางการติดต่อและร้องเรียนให้กับผู้มีส่วน ได้เสียทุกกลุ่มในเรื่องที่อาจเกิดปัญหากับบริษัทโดยตรงกับคณะกรรมการบริษัท
การสื่อสารและการเผยแพร่
บริษัทฯ จะสื่อสารและเผยแพร่นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้บุคลากรของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัทฯ เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
- การสื่อสารภายใน โดยการปฐมนิเทศกรรมการและพนักงานใหม่ การอบรมบอร์ด ประชาสัมพันธ์ประจำสาขา และช่องทาง Intranet
- การสื่อสารภายนอก โดยผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report)