บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยสร้างมูลค่าทางธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม และสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม บริษัทฯ จึงได้ดำเนิน กระบวนการประเมินที่สำคัญด้านความยั่งยืน ดังนี้

  1. การระบุประเด็นและขอบเขตการรายงาน
บริษัทฯ พิจารณาการระบุประเด็นแลขอบเขตจากการดำเนินธุรกิจ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก พร้อมทั้งเชื่อมโยงประเด็นด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ รวมทั้งประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ ผ่านการพิจารณาผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม
  1. การประเมินและการจัดลำดับความสำคัญ
บริษัทฯ ได้นำประเด็นด้านความยั่งยืนที่รวบรวมมาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของประเด็น โดยวัดความสำคัญทั้งในส่วนของโอกาส และผลกระทบทางบวก ทางลบของแต่ละประเด็น ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและธรรมมาภิบาล ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อจัดลำดับผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงกำหนดให้มีแนวทางแก้ไขและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น
  1. การทวนสอบและการรับรองผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืน
ภายหลังจากการประเมินลำดับความสำคัญ บริษัทฯ ได้พิจารณาตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้องของประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้มีการทบทวนการประเมินประเด็นที่สำคัญเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งนำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืนต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล เพื่อพิจารณาอนุมัติประเด็นสำคัญดังกล่าวและลงนามในขั้นตอนต่อไป ก่อนเปิดเผยข้อมูลประเด็นด้านความยั่งยืนในรายงานประจำปี 56-1 One Report และสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
  1. การทบทวนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ โดยกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและสรุปผล และรายงานต่อคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล เพื่อนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะมาพัฒนา ปรับปรุงเนื้อหาการจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปีต่อไป

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

การกำกับและเศรษฐกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหาร ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • นวัตกรรมและเทคโนโลยี
  • การจัดหาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
  • การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
  • การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
สังคม
  • การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน
สิ่งแวดล้อม
  • การจัดการพลังงาน
  • การบริหารจัดการน้ำ
  • การบริหารจัดการขยะของเสียและวัสดุเหลือใช้
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลการประเมินประเด็นที่สำคัญด้านความยั่งยืนปี 2567

ด้านการกำกับและเศรษฐกิจ
  • 1 การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • 2 นวัตกรรมและเทคโนโลยี
  • 3 การจัดหาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
  • 4 การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
  • 5 การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
ด้านสังคม
  • 6 การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • 7 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • 8 การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม
  • 9 การจัดการพลังงาน
  • 10 การบริหารจัดการน้ำ
  • 11 การบริหารจัดการขยะ ของเสียและวัสดุเหลือใช้
  • 12 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ขอบเขตและผลกระทบของประเด็นสำคัญ

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้
ประเด็นสำคัญ ขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท
ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า คู่แข่ง ผู้ถือหุ้น ชุมชน และสังคม หน่วยงานภาครัฐ เจ้าหนี้
การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย
นวัตกรรมและเทคโนโลยี
การจัดหาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
การบริหารทรัพยากรบุคคล
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน
การจัดการพลังงาน
การบริหารจัดการน้ำ
การบริหารจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ