การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs

เป้าหมายที่ 7:
พลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนทุกคนสามารถเข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 12:
แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13:
การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 14:
การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
เป้าหมายที่ 15:
การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก

เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ

เป้าหมายระยะยาว

  • 1 ภายในปี 2573 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ Scope 2 ต่อรายได้รวมลดลง 20% จากปีฐาน (ปีฐาน 2565)
  • 2 ภายในปี 2593 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

กลยุทธ์

เพิ่มพลังงานงานทดแทน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงกระบวนการและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

เพิ่มพื้นที่สีเขียว
+36,000
ตร.ม.
35.17%
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ Scope 2 ต่อรายได้รวมลดลง 20% จากปีฐาน (ปีฐาน 2565)

ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ

ความมุ่งมั่น

บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ซึ่งทั่วโลกได้ให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization; CFO) โดยเริ่มดำเนินการในปี 2565 เพื่อทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แนวทางการบริหารจัดการและการสร้างคุณค่า

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน มีการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้บริการลูกค้า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรง (Scope 1) และทางอ้อม (Scope 2) โดยใช้นโยบายการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ เป็นประเภทไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และนโยบายการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง รวมถึงมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยลดการใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือ 58% ของกิจกรรมทั้งหมด

58%
ของกิจกรรมทั้งหมดลดการใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO)

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้เริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร หรือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง ซึ่งแสดงผลในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Ton CO2e) โดยได้รับการทวนสอบจาก“บริษัท วีกรีน เคยู จำกัด (V GREEN)” ซึ่งเป็นผู้ทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

รายละเอียดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ปี 2567

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้
ปริมาณการปล่อย (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) 2565 2566 2567
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) 14,529 11,142 14,131
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม จากการใช้พลังงานไฟฟ้า (Scope 2) 33,794 36,998 48,209
ปริมาณรวมที่แสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3) 9,911 9,314 11,747
1. Purchased goods and services 881.24 577.73 606.67
2. Capital goods - - -
3. Fuel-and energy-related activities 8,827.56 8,631.15 10,837.75
4. Upstream transportation and distribution 5.86 36.5 5.23
5. Waste generated in operations - - 234.84
6. Business Travel - - -
7. Employee commuting - - -
8. Upstream Leased Assets N/A N/A N/A
9. Downstream transportation and distribution - - -
10. Processing of sold products N/A N/A N/A
11. Use of sold products - - -
12. End-of-life treatment of sold products 152.85 25.32 22.00
13. Downstream Leased Assets 43.29 42.43 39.88
14. Franchises N/A N/A N/A
15. Investments - - -

หมายเหตุ: บริษัทฯ ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2567 และได้ผ่านการทวนสอบแล้ว

TGO Guidance of the Carbon Footprint for Organization

การดำเนินการด้านความยั่งยืน