การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs

เป้าหมายที่ 16:
สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก

ความท้าทายและโอกาส

ความมุ่งมั่น

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจอยู่บนความไม่แน่นอน และเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทได้ การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยป้องกัน หรือบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤตอย่างมีประสิทธิผล โดยครอบคลุมประเด็นที่สำคัญทั้งในด้าน ESG พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงในองค์กร เพื่อให้สามารถจัดการกับภาวะวิกฤตได้อย่างราบรื่นตลอดจนการเติบโตอย่างยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการและการสร้างคุณค่า

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ จัดให้มีนโยบายและแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มแข็ง มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถจัดการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

  • การกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง: เป็นการกำหนดขอบเขต ความรับผิดชอบ แนวทางบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ และเป้าหมายการดำเนินงานของบริษัท
  • การระบุความเสี่ยง: เป็นการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ให้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ด้านปฏิบัติการ ด้านการเงิน ด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ความเสี่ยงในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
  • การประเมินความเสี่ยง: เป็นการประเมินระดับของความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในด้านโอกาสที่จะเกิด และผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท หากความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้น เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและกำหนดวิธีการจัดการความเสี่ยงนั้น ๆ
  • การจัดการความเสี่ยง: เป็นการกำหนดวิธีการจัดทำแผนจัดการความเสี่ยงที่มีความสำคัญ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดและผลกระทบหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยต้องจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  • การติดตามและทบทวน: เป็นการติดตามผลการบริหารความเสี่ยงตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งการประเมินผลการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงของบริษัทได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยฝ่ายจัดการจะติดตามและรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทรับทราบ
1

โครงสร้างและความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

    คณะกรรมการบริษัททำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด โดยมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงเป็นตัวแทนในการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง และสอบทานให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และมอบหมายให้ฝ่ายจัดการทำหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงของบริษัท และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทตามลำดับ

  • สำนักงานตรวจสอบ

    สำนักงานตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานกำกับและสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ความเชื่อมั่นว่ามีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพียงพอ พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

  • คณะทำงานบริหารจัดการความเสี่ยง

    ฝ่ายจัดการได้แต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการความเสี่ยงขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และกรอบการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งองค์กร รวมทั้งกำกับดูแลให้มีระบบ หรือกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม โดยมีผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับสายงานเป็นตัวแทนจากฝ่ายงานต่างๆที่เป็นเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ร่วมเป็นคณะทำงาน รวม 10 คน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. จัดทำนโยบายบริหารความเสี่ยง กรอบการบริหารความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และกระบวนการบริหารความเสี่ยง เสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง พิจารณาให้ความเห็นชอบ
  2. ระบุความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร (Corporate Risk) ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า (Emerging Risks) เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง พิจารณาให้ความเห็นชอบ
  3. ประเมินความเสี่ยงและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้สามารถประเมิน ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  4. จัดทำดัชนีชี้วัดความเสี่ยงระดับองค์กร (Corporate Key Risk Indicator: KRI) เพื่อใช้ในการติดตามแนวโน้มความเสี่ยง และ ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicator: KPI) ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ความเสี่ยงและเพื่อควบคุมกิจกรรมลดความเสี่ยงให้เป็นไปตามเป้าหมาย (ต้องเพิ่ม KPI ในหน้าที่รับผิดชอบของคณะทำงานความเสียง และในนโยบายการบริหารความเสี่ยง)
  5. จัดทำรายงานการบริหารความเสี่ยง การดำเนินงาน สถานะความเสี่ยงของบริษัท และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางบริหารความเสี่ยง พร้อมทั้งนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบ
  6. ติดตามแนวโน้มและสถานการณ์ความเสี่ยง มาตรฐานและกรอบการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
  7. เสริมสร้างวัฒนธรรมด้านการจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Risk Culture) เพื่อเป็นรากฐานของการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน
คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
2

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง

3

การเสริมสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง

บริษัทฯ ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงในทุกระดับขององค์กร พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกในการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังวางรากฐานการบริหารความเสี่ยงที่ดีและเป็นสากลตามแนวทาง COSO (Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) เพื่อให้สามารถนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีแนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

  1. กำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจน และจัดให้มีการทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี รวมทั้งจัดให้มีการสื่อสารภายในองค์กรให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับรับทราบทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้ตระหนักถึงความเป็นไปได้ของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ผลกระทบของความเสี่ยง ความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อความเสี่ยง
  2. กำหนดให้นำการบริหารความเสี่ยงเข้าเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจในการอนุมัติโครงการ การพัฒนาบริการใหม่ และการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
  3. กำหนดให้นำการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน(KPI) ในการประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูงและระดับสายงาน เพื่อเป็นการติดตามและสนับสนุนงานบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ
  4. กำหนดให้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงระหว่างหน่วยงาน ตามแนวทางการป้องกัน 3 ระดับ (Three Lines of Defense) เพื่อให้เกิดการ Check & Balance ในการป้องกัน หรือ ลดความเสี่ยง ลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้มีส่วนได้เสีย โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
  • First Line of Defense คือ หน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง หรือหน่วยงานผู้ปฏิบัติงาน มีหน้าที่กำกับดูแลงานของตนเองให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้มีการควบคุมภายในและจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
  • Second Line of Defense คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล และสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานผู้ปฏิบัติ
  • Third Line of Defense คือ หน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบทานกระบวนการปฏิบัติงาน
  1. สนับสนุนให้พนักงานทุกระดับมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการประเมินและระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงานที่รับผิดชอบ(Risk Owner) และกำหนดกระบวนการจัดการ เพื่อลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด พร้อมทั้งรายงานต่อคณะทำงานบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัท
  2. ส่งเสริมให้มีการอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง หรือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมถึงการพัฒนาโปรแกรม“Skill Hub” เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (E-Learning) ในแอพพลิเคชั่น Agilis HR ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยผ่านSmart phone ของตนเอง
4

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้
ความเสี่ยง ผลกระทบต่อธุรกิจและมาตรการการบริหารความเสี่ยง
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

ผลกระทบต่อธุรกิจ

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน อาจมาพร้อมกับภัยคุกคามทางไซเบอร์(Cyber Threats) ที่ทำให้เกิดการละเมิดหรือการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลทางการค้า หรือ ข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้บริษัทฯได้รับโทษทางกฎหมาย ตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ซึ่งมีโทษปรับทางปกครอง ค่าปรับสูงสุด 5,000,000บาท โทษทางอาญา ค่าปรับสูงสุด 1,000,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และโทษทางแพ่ง ค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหายเชิงลงโทษไม่เกิน 2 เท่าของ ค่าสินไหมทดแทน นอกจากนี้ หากเกิดการขัดขวางการทำงานของระบบงานภายใน จะทำให้ระบบปฏิบัติการหยุดชะงัก ซึ่งส่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวม เช่น สูญเสียภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ความไว้วางใจจากลูกค้า รายได้จากการขายสินค้าและบริการลดลง

มาตรการบรรเทาผลกระทบ

บริษัทฯ กำหนดแนวทางการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล เพื่อป้องกันภัยทาง ไซเบอร์ และการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ โดยกำหนดให้มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ กำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งาน การบันทึกการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ รวมถึงการจัดทำแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ เช่น แผนการกู้คืนระบบ (Disaster Recovery Plan ) และแผนตอบสนองต่อการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ได้สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล

ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อธุรกิจ

ปี 2567 เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังมีความไม่แน่นอน แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านหลายๆ โครงการ เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน แต่สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับสูง และเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศนั้น ได้ส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง กระทบต่อยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทลดลง และผลประกอบการโดยรวมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

มาตรการบรรเทาผลกระทบ

การติดตามยอดขายสินค้าและบริการของแต่ละสาขา บริษัทได้พัฒนาระบบรายงานที่มีความแม่นยำและสามารถประมวลผลได้ทันที (Real Time) เพื่อให้ผู้บริหารสามารถวางแผนการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันกับสถานการณ์ และการปรับรูปแบบของสินค้าให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ เพื่อรักษายอดขาย รวมทั้ง การรักษาสภาพคล่องทางการเงิน โดยการสั่งซื้อสินค้าตามแนวโน้มของยอดขาย

ความเสี่ยงจากการปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ผลกระทบต่อธุรกิจ

การปรับตัวเข้าสู่สังคมแห่งคาร์บอนต่ำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันมาสนใจสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ “Eco Friendly” เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อยอดขายสินค้าที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวลดลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย หรือ กฎระเบียบที่ส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก อาจทำให้บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีร้านสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้มีโอกาสในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมถึงเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนดให้เสียภาษี ทำให้บริษัทฯมีต้นทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้นและกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยรวมได้

มาตรการบรรเทาผลกระทบ

บริษัทฯ ปรับตัวเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจที่เริ่มเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยการจัดแยกประเภทของสินค้าออกเป็นกลุ่มสินค้ามิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิต หรือ สินค้ากลุ่ม ESG ประกอบไปด้วย สินค้าประหยัดพลังงาน สินค้าลดโลกร้อน สินค้าประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสินค้าส่งเสริมสุขภาพ สินค้าเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ สินค้าตอบสนองวิถีชีวิตใหม่ และเพื่อให้การดำเนินงานมีความชัดเจนเป็นรูปธรรม บริษัทฯได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ในมิติเศรษฐกิจ โดยการจำหน่ายสินค้ากลุ่ม ESG ให้ได้ร้อยละ 40 ของยอดขายภายในปี 2568 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ควบคู่กับสนับสนุนการบริโภคอย่างรับผิดชอบ สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร บริษัทฯได้ปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ โดยการติดตั้งแผงSolar Rooftop บนหลังคาอาคารร้านทุกสาขา พร้อมกับปรับเปลี่ยนการใช้รถโฟล์คลิฟท์ระบบไฟฟ้า แทนระบบแก๊ส พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืน ในมิติสิ่งแวดล้อม โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรลงร้อยละ 20 จากปีฐาน ภายในปี 2573